ก่อนวันชี้ชะตา! นิเทศจุฬาแถลงค้าน ‘กสทช.’ ทุ่มซื้อยิงสดบอลโลก ข้องใจเอื้อประโยชน์กลุ่มใดหรือไม่

0 0
Read Time:4 Minute, 35 Second

ตามที่ การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ทำหนังสือขอให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) พิจารณาสนับสนุนค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 จำนวนเงินค่าซื้อลิขสิทธิ์รวมภาษี 42 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1,600 ล้านบาท โดยจะจัดประชุมเพื่อพิจารณาวาระนี้ในวันที่ 9 พ.ย.65

แต่ก่อนถึงวันชี้ชะตา ล่าสุดเมื่อวันที่ 8 พ.ย.65 คณาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย รศ.ดร.ปรีดา อัครจันทโชติ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ฯ และ ผศ.ดร.มรรยาท อัครจันทโชติ หัวหน้าภาควิชาการสื่อสาร คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ฯ แถลงข่าวคัดค้านการนำเงินของกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) ของ กสทชคำพูดจาก ปั่นสล็อต. ไปใช้สนับสนุนการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2022 ที่ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รศ.ดร.ปรีดา กล่าวว่า คณาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ฯ และคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมทั้งนักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนหลายท่าน ร่วมกันคัดค้านกรณีที่ กสทช. จะนำเงิน 1,600 ล้านบาท มาใช้ซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก

กรณีนี้ต้องแยกเป็น 2 เรื่องคือ คนไทยควรได้ชมฟุตบอลโลก เพราะเป็นกีฬารายการสำคัญที่คนไทยติดตามเยอะมาก และมีการถ่ายทอดสดต่อเนื่องยาวนาน แต่ กสทช.ไม่ควรนำเงิน กทปส. มาใช้ซื้อลิขสิทธิ์ เพราะผิดวัตถุประสงค์ และงบค่อนข้างสูงมาก กระทบความมั่นคง และสภาพคล่องของกองทุนที่จะเหลือเงินในบัญชีที่ 1 ราว 2,000 ล้านบาท และบัญชีที่ 2 อีกกว่า 800 ล้านบาท

รศ.ดร.ปรีดา กล่าวด้วยว่า เงิน กทปส. ที่หายไปจะส่งผลกระทบต่อภารกิจ แผนงาน และโครงการของ กสทช. ซึ่งมีนโยบายสำคัญ ให้ทุกคนเข้าถึงสื่อ โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ และผู้สูงอายุ กสทช.ไม่ควรแทรกแซงเนื้อหารายการ ควรเน้นรายการเฉพาะกลุ่มที่ไม่อาจหารายได้ได้ มากกว่าจะสนับสนุนเงินจำนวนมากในการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกที่สามารถหารายได้ได้ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจไม่ดีเช่นนี้

ทั้งนี้ นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนมองทางแก้ไขระยะสั้นด้วยการเจรจากับองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้ง กกท. และภาคเอกชน ตามระเบียบของ กสทช. เปิดช่องให้พิจารณายกเว้นเป็นกรณีพิเศษได้หากมีความจำเป็น โดยเฉพาะกฎมัสต์แฮฟ และมัสต์แคร์รี่ ที่ทำให้ภาคเอกชนไม่สามารถเข้าร่วมได้ แต่ควรเปิดทางให้ กกท. คุยกับเอกชนได้ จะทำให้ค่าใช้จ่ายถูกลง และง่ายมากขึ้น ส่วนระยะยาวก็ควรที่จะพิจารณาทบทวนใหม่กับกฎมัสต์แฮฟ และมัสต์แคร์รี่ ที่ทำให้เอกชนไม่กล้าลงทุน

ขณะที่ ผศ.ดร.มรรยาท กล่าวว่า การที่นำเงินของ กทปส. มาสนับสนุนฟุตบอลโลก เรามอง 2 จุดใหญ่ๆ คือ 1.คุ้มค่าหรือไม่ 2.ตรงตามวัตถุประสงค์หรือไม่ หากไปดูวัตถุประสงค์กองทุนจริงๆ คือสนับสนุนเรื่องการเข้าถึงบริการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม อย่างทั่วถึง โดยทั่วถึง ในที่นี้หมายถึงโครงสร้างพื้นฐาน เช่นโครงข่าย สัญญานอินเทอร์เน็ต รวมถึงรายการบางประเภทที่ถ้าไม่สนับสนุนจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เช่น รายการเด็ก, ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ดังนั้นฟุตบอลโลกไม่ได้เข้าวัตถุประสงค์ ซึ่งอาจจะต้องลองหาวิธีการแก้ไข เช่น อาจจะมีภาคเอกชนให้ความสนใจ แต่อาจจะติดเรื่องของกฎมัสต์แฮฟ ทำให้ไม่กล้าที่จะเข้ามาลงทุน ถ้าสามารถปลดล็อกได้ ซึ่งคณะกรรมการมีอำนาจที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงปลดล็อกระยะสั้นเฉพาะกรณี ก็อาจจะทำให้มีเอกชนเข้ามาร่วมสนับสนุนในส่วนนี้ด้วยก็เป็นได้

ผศ.ดร.มรรยาท กล่าวอีกว่า การถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกควรจะพิจารณาว่าจะถ่ายครบ 64 แมตช์หรือไม่ เพราะประเทศเพื่อนบ้านเองก็ไม่ได้ถ่ายครบ และถ่ายแมตช์สำคัญ ส่วนแมตช์ที่เหลือก็จ่ายเงินชมแบบเปย์เปอร์วิว ซึ่งจะทำให้ค่าลิขสิทธิ์ถูกลงได้ เพราะ กสทช.ไม่ควรนำเงินทั้งหมดมาใช้จับจ่ายใช้สอยภายใน 1 เดือนแล้วหายไป โดยผิดวัตถุประสงค์ แต่ถ้ามติของบอร์ด กสทช. ยังอนุมัติงบ 1,600 ล้านบาท ก็คงรู้สึกผิดหวัง และต้องจับตามองติดตามกับการใช้เงินดังกล่าวว่าไปเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มใดหรือไม่คำพูดจาก สล็อตทดลองเล่นฟรี

หากอนุมัติจริงๆ กสทช.ต้องชี้แจงว่าเงินในส่วนที่หายไปมียอดคงเหลือเท่าไร และกระทบต่อแผนงาน โครงการอะไรบ้าง เราคงจะต้องเกาะติดว่าไปเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือไม่ รวมถึงช่องถ่ายทอดสดต่างๆ ที่สามารถนำไปสร้างกลไกทางการตลาดได้ ผลประโยชน์จะไปเข้าที่ใคร เพราะเงินไม่สามารถกลับเข้ามายัง กสทช.ได้ อย่างไรก็ตาม หาก กสทช. ยืนยันว่าจะนำเงินในส่วนดังกล่าวไปใช้ ก็ต้องชี้แจงว่ามาจากตรงไหน และจะไม่กระทบต่อสิทธิเข้าการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของภาคประชาชนโดยวงกว้าง

ผศ.ดร.มรรยาท กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่มองว่าการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกสามารถทำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ 3-4 หมื่นล้านบาทนั้น ถามว่าถ้าเป็นเช่นนั้นทำไมเอกชนไม่กล้าลงทุน อีกทั้งจากยูโร 2020 และฟุตบอลโลก 2018 ครั้งก่อน เอกชนก็ไม่ได้เงินกำไรกลับคืนมา ดังนั้นจึงไม่แน่ใจว่าครั้งนี้เศรษฐกิจจะขยายตัวตามมาหรือไม่ หรืออาจนำไปสู่การล่มสลายทางเศรษฐกิจที่จะส่งผลต่อประชาชนทั้งประเทศหรือไม่ เพราะเป็นการนำเงินไปใช้แล้วหายไปเพียงเวลาแค่ 1 เดือนเท่านั้น

“หากเทียบกับเพื่อนบ้านอย่าง สิงคโปร์ ซึ่งรัฐบาลเขาได้ไปคุยกับภาคเอกชน ที่จะเป็นผู้ไปซื้อลิขสิทธิ์โดยมีการกำหนดกฎมัสต์แฮฟในบางนัด ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือก แต่ถ้าเราอยากที่จะดูครบทุกแมตช์จริงๆ ก็อาจจะต้องยอมที่จะลงทุนบ้าง เพราะอย่างที่บอกว่าประเทศเรามีของฟรีอยู่ค่อนข้างเยอะ บางกรณีเป็นของจำเป็นที่ต้องฟรี เช่นการเข้าถึงบริการสาธารณสุข เพราะเป็นเรื่องของชีวิต ส่วนของฟุตบอลโลกเป็นเรื่องของความบันเทิง ที่มากกว่าชีวิต”

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

ตามที่ การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ทำหนังสือขอให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) พิจารณาสนับสนุนค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 จำนวนเงินค่าซื้อลิขสิทธิ์รวมภาษี 42 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1,600 ล้านบาท โดยจะจัดประชุมเพื่อพิ…